ผู้ใช้รถทุกคนคงคุ้นเคยกับการขับบนทางด่วนและมอร์เตอร์เวย์เป็นอย่างดี แต่บางครั้งเนื่องจากมีจำนวนรถที่เยอะ ในช่องด่านเก็บเงินทำให้เกิดการจราจรติดขัดได้ จนมีการหันมาใช้ระบบ M Flow ในการเก็บค่าทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์นั่นเอง หลายคนคงเคยได้ยินบ่อยมากขึ้นในช่วงนี้ ตกลงแล้วระบบ M Flow คืออะไร ช่วยให้การเก็บเงินสะดวกขึ้นได้อย่างไรบ้าง และมีวิธีใช้อย่างไรบ้าง
ระบบ M-Flow คืออะไร
ระบบ M-Flow คือ ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า Free Flow ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยระบบ M-Flow นั้นช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ได้ ระบบระบบ M Flow จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Video Tolling ในการบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถด้วยกล้องเพื่อบันทึกภาพ แทนการเก็บค่าผ่านทางแบบไม้กั้น
ระบบ M-Flow ยังรองรับการใช้งานกับรถยนต์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือทางพิเศษ
ข้อกำหนดหรือข้อบังคับขณะใช้งานทางพิเศษ
ข้อบังคับขณะใช้งานทางพิเศษหากต้องการจ่ายค่าผ่านทางด้วยระบบ M-Flow คือสามารถขับขี่ผ่านบริเวณด่าน ที่เป็นระบบ M-flow โดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถเลย สามารถขับได้ความเร็วถึง 120 กม./ชม. ซึ่งจะช่วยระบายรถที่มีการใช้งานหนาแน่นได้ 2,000 – 2,500 คัน/ชม./ช่องทาง มีความเร็วขึ้นกว่าระบบไม้กั้นแบบเดิมที่ใช้อยู่ถึง 5 เท่า
ถ้าไม่ได้สมัครสมาชิก M-Flow วิ่งได้มั้ย?
ถ้าไม่ได้สมัครสมาชิก M-Flow วิ่งได้มั้ย เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยอย่างมาก หากไม่ได้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานระบบ M-Flow แล้วดันเข้ามาใช้ช่องทางนี้ กรมทางหลวงจะมีช่องทางสำหรับแจ้งและชำระค่าบริการ โดยจะต้องชำระค่าบริการตามเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดนั่นเอง ซึ่งควรติดต่อขอชำระค่าผ่านทางตามวิธีการที่กำหนด เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าผ่านทาง หากไม่ยอมชำระค่าผ่านทางดังกล่าว กรมทางหลวงจะออกหนังสือติดตามให้บุคคลดังกล่าวมาชี้แจงและชำระค่าผ่านทางและค่าปรับต่อไป และเจ้าพนักงานจราจรจะออกใบสั่งฐานความผิดฝ่าฝืนป้ายบังคับห้ามรถยนต์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนในระบบ M-Flow
ต้องชำระค่าบริการภายในกี่วัน และถ้าเกิดกำหนดคิดค่าปรับอย่างไร?
การชำระค่าบริการ หรือค่าปรับนั้น มีบทลงโทษจากกฎหมาย 2 ฉบับ สามารถแยกได้เป็นผู้ที่ไม่ได้สมัครสมาชิก M-Flow และผู้ที่เป็นสมาชิก M-Flow อยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ 4 ล้อ มีค่าผ่านทาง 30 บาท ที่แบ่งออกได้ 2 กรณี คือ
1.หากไม่ได้สมัครสมาชิก M-Flow
- จ่ายช้า 2 วัน จะมีค่าปรับ 10 เท่า ตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมฯ คิดเป็นค่าใช้จ่าย ค่าผ่านทางปกติ 30 บาท + ค่าปรับ 10 เท่าเป็นเงิน 300 บาท รวมทั้งหมดเป็น 330 บาทนั่นเอง
- จ่ายช้า 12 วัน มีผลใน 2 ทาง คือ มีค่าเสียหาย 2 เท่า จำนวน 200 บาท ตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมฯ รวมเป็น 330+200 = 530 บาท
- ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งเป็นโทษฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติติทางหลวง พ.ศ. 2535 รวมเป็น 530+5,000 = 5,530 บาท
2. กรณีเป็นสมาชิก M-Flow อยู่แล้ว
- จ่ายช้า 2 วัน จะมีค่าเสียหาย 2 เท่า 60 บาท + ค่าผ่านทางปกติ 30 บาท รวมเป็น 90 บาท
- จ่ายช้า 12 วัน มีค่าเสียหาย 2 เท่า 60 บาท + ค่าผ่านทางปกติ 30 บาท + ค่าปรับ 200 บาท + ค่าปรับ 10 เท่า 300 บาท รวมเป็น 590 บาทนั่นเอง โดยสมาชิก M-Flow หากจ่ายช้าไป 12 วัน จะไม่โดนค่าปรับฝ่าฝืนพระราชบัญญัติทางหลวง จึงจะเสียค่าปรับสูงสุด 5,000 บาท
วิธีสมัครสมาชิก M-Flow ผ่านช่องทางออนไลน์
1. ยืนยันตัวตน
สามารถยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อนำรหัส OTP ไปกรอกได้
2. ใส่ข้อมูลส่วนตัว
ใส่ E-mail และรหัสผ่าน ข้อมูลส่วนตัว ชื่อ สกุล
อัปโหลดรูปหน้าคู่กับบัตรประชาชน
ยืนยัน OTP ที่ได้รับทาง E-mail
3. ใส่ที่อยู่
ใส่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและ ใส่ที่อยู่ปัจจุบัน
4. ลงทะเบียนรถ
ระบุความเป็นเจ้าของรถ ประเภทป้ายทะเบียน รายละเอียดตัวรถ เช่น ประเภท สี ยี่ห้อ
อัปโหลดรูปถ่ายเล่มทะเบียนรถ และรูปรถทุกด้าน ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังรถ
5. เลือกวิธีการชำระเงิน
5.1.ชำระเป็นรายครั้ง ผ่านบัตรอัตโนมัติ
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
- M-Pass
- Easy Pass
5.2. ชำระตามรอบบิล ทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ผ่านบัตรอัตโนมัติ 3 ประเภท
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
สรุปเกี่ยวกับการใช้งานระบบ M-Flow ในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานระบบ M-Flow มากขึ้นเพราะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้ และยังสะดวกสบายในการชำระเงินด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังหลายข้อที่ต้องระวังเช่น หากไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก แล้วเข้าไปใช้ช่อง M-Flow ก็อาจต้องมีการเสียค่าปรับหลายเท่าตามมาทีหลังได้ และก่อนจะเดินทางไกล ควรนำรถไปเช็กระยะ เช็กเครื่องยนต์ได้ที่ ศูนย์ฮอนด้า เพื่อให้การขับขี่ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้