ไขข้อสงสัยรถแต่ละประเภทต้องเสียภาษีราคาเท่าไหร่พร้อมวิธีคำนวณแบบเข้าใจง่าย

คํานวณภาษีรถยนต์-7-ที่นั่ง

เลือกหัวข้อที่อยากอ่าน

ภาษีรถยนต์” คือราคาที่จำเป็นจะต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่ารถยนต์แต่ละประเภทมีอัตราการเสียภาษีในราคาที่ไม่เท่ากัน ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ราคาเสียภาษีรถยนต์มีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ขนาดตัวถังรถ, ขนาดจุของเครื่องยนต์, ประเภทของรถยนต์ รวมไปถึงอายุการใช้งานด้วย โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดราคาภาษีรถยนต์ที่จำเป็นจะต้องเสียให้แก่กรมการขนส่งทางบกนั่นเอง

แต่ VGroup Honda เชื่อว่ายังมีคนอีกมากมายที่อาจไม่เคยรู้ว่าควรคำนวณราคาภาษีรถยนต์อย่างไรถึงจะถูกต้องที่สุด โดยวันนี้พวกเราได้นำวิธีคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละประเภท มาอธิบายให้เข้าใจกับแบบง่าย ๆ สามารถคำนวณเองได้ทันที

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละประเภท

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละประเภทที่จะมานำเสนอในครั้งนี้ จะขอแบ่งตามลักษณะของป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่

  1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ
  2. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว
  3. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

โดย 3 ประเภทก็จะมีรายละเอียดคำนวณราคาภาษีรถยนต์ดังนี้

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง อย่างเช่น รถเก๋ง 4 ประตู, รถกระบะ เป็นต้น สำหรับภาษีรถยนต์ 7 ที่นั่งจะมีการคำนวณราคาโดยอิงจากขนาดจุเครื่องยนต์เป็นหลักดังนี้

  • 1-600 cc – cc ละ 50 สตางค์
  • 601-1800 cc – cc ละ 1.50 บาท
  • 1801 cc ขึ้นไป – cc ละ 4 บาท

ส่วนภาษีรถ 7 ที่นั่งที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

  • อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว หรือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณราคาภาษีรถบรรทุกเกิน 7 ที่นั่งจะอิงจากน้ำหนักของรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน หรือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณราคาภาษีของรถเกิน 7 ที่นั่งประเภทนี้จะอ้างอิงจากกับน้ำหนักของตัวรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีต่างจากรถบรรทุก 7 ที่นั่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี  1,600 บาท

ช่องทางการเสียภาษีรถยนต์แต่ละประเภท

การเสียภาษีรถยนต์ราคาต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องไปชำระที่กรมการขนส่งทางบกของแต่ละพื้นที่อย่างแต่เท่านั้น แต่ยังสามารถเสียผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลดการแออัดในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง โดยสามารถเข้าชำระได้ทางเว็บไซต์ “eservice.dlt.go.th” และเสียผ่านทางแอปพลิเคชัน “DLT Vehicle Tax” 

ทั้งนี้การเสียภาษีรถยนต์แต่ละประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสภาพรภยนต์จาก ตรอ. ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสารรับรองการตรวจเช็กมายื่นเป็นหลักฐานการเสียภาษีรถยนต์ในลำดับต่อไปนั่นเอง

เพราะรถยนต์นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตเราทุกคน ดังนั้นการเสียภาษีรถยนต์แต่ละประเภทจึงนับเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบควบคุมกับการใช้งานไปด้วย นอกจากนั้นการเสียภาษียังเป็นอีกทางที่สามารถการันตีได้ว่า รถยนต์ของคุณมีความพร้อมในการใช้งานได้แบบปีต่อปี ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมควรหมั่นตรวจสภาพรถเป็นประจำ เพื่อให้รถยนต์ของคุณใช้งานได้นานในแบบที่ควรจะเป็น