ยนตรกรรมฮอนด้าที่ผลิตในประเทศไทย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้ การทิ้งทำลาย ตลอดจนถึงมีการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับการผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฉพาะด้านความปลอดภัยจากโรงงานของฮอนด้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบควบคุมคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 และได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของฮอนด้าในการส่งมอบสังคมที่ยั่งยืนให้กับลูกหลานในอนาคต
รถยนต์ฮอนด้าที่ได้รับรองฉลากเขียว มีจำนวน 9 รุ่น
- ซิตี้ 1.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- ซิตี้ แฮทช์แบ็ค 1.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- ซิตี้ อี:เอชอีวี 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- เอชอาร์-วี อี:เอชอีวี 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- ซีวิค อี:เอชอีวี 2.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- แอคคอร์ด อี:เอชอีวี 2.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- ซีอาร์-วี 1.5 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
- ซีอาร์-วี อี:เอชอีวี 2.0 ลิตร (เกียร์ระบบเปลี่ยนอัตราทดอย่างต่อเนื่อง)
ฉลากเขียว (Green Label)
ฉลากเขียว (Green Label) คือ ฉลากที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน อันเป็นแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปของความสมัครใจ เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภคให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคโดยตระหนักถึงคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยได้เริ่มโครงการฉลากเขียว โดยคณะกรรมการการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD) ในปี พ.ศ.2563 โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และได้เริ่มดำเนินโครงการโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
เกณฑ์ข้อกำหนดฉลากเขียว
การพิจารณาเกณฑ์ข้อกำหนดฉลากเขียวในแต่ละผลิตภัณฑ์ จะใช้หลักการทางสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทาง ดังนี้
- การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- การลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดทิ้งหลังใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ
- การนำขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะอันตรายกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น (Reuse) หรือ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
ข้อกำหนดฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์รถยนต์ ประกอบด้วยข้อกำหนดทั่วไป ซึ่งต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฉพาะด้านความปลอดภัย: สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ที่ประกาศบังคับใช้ และเป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติรถยนต์ รวมทั้งต้องได้รับการรับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 สำหรับข้อกำหนดพิเศษ จะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีและวัสดุที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ สารทำความเย็น ผ้าเบรค แผ่นคลัตซ์ คำแนะนำในการบำรุงรักษารถยนต์ และวิธีการจัดการของเสีย ชิ้นส่วนพลาสติกและชิ้นส่วนประเภทยาง ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ระดับเสียงที่เกิดจากรถยนต์ การปล่อยไอเดียและก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับการรับรองฉลากเขียวจึงต้องผ่านการประเมินผลกระทบแบบครบวงจร คือ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้ การทิ้งทำลายตลอดจนมีการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
แหล่งข้อมูล: honda.co.th/greenlabel
จำนวนคนดู :
177