เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากคู่กรณี วันละ 500 บาท

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

เลือกหัวข้อที่อยากอ่าน

การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับรถแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ในระหว่างที่ซ่อมแซมหรือเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่ฝ่ายถูกได้ เช่น ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ตามปกติ ทั้งนี้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ จึงเป็นเงินชดเชยสำหรับผู้เสียหายหรือฝ่ายถูก

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินชดเชยที่บริษัทประกันภัยของคู่กรณีต้องจ่ายให้กับผู้เอาประกันภัยที่เป็นฝ่ายถูก จากการที่รถไม่สามารถใช้งานได้ในระหว่างที่ซ่อมแซม เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนี้ถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ที่มีประกันภัยที่เป็นฝ่ายถูก

รถชน

จำนวนเงินการเรียก ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

อัตราของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจะคำนวณจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของรถยนต์ ระยะเวลาที่รถใช้งานไม่ได้ ค่าเดินทาง ค่าเสียโอกาส โดยจะกำหนดไว้ดังนี้

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอยู่ที่ 500 บาท/วัน
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอยู่ที่ 700 บาท/วัน
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง อัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอยู่ที่ 1,000 บาท/วัน

เอกสารสำหรับการเรียกร้อง

  • ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์
  • ใบเคลม (ใบรองรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน)
  • สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
  • สำเนาทะเบียนรถยนต์
  • สำเนาใบขับขี่รถยนต์
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ
  • รูปถ่ายตอนซ่อม
  • รูปถ่ายความเสียหาย
  • หนังสือเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของผู้เอาประกัน

ขั้นตอนการขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

  • ติดต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี
  • ยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
  • บริษัทประกันภัยจะพิจารณาจ่ายเค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
  • รอรับเงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
หากเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุคนที่มีประกันภัยรถยนต์ และเป็นฝ่ายถูกสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากคู่กรณีได้ หรือหากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทันทีคลิก สอบถามประกันภัยรถยนต์